Subscribe:

ผู้ติดตาม

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ระบบประสาท

หมวดหมู่ : สุขศึกษาและพลศึกษา
ระบบประสาท
ศุกร์ ที่ 20 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2554 [อ่านสาระการเรียนรู้ทั้งหมด]



มนุษย์แบ่งระบบประสาทออกเป็น 3 ส่วนคือ ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย และระบบประสาทอัตโนมัติ


ระบบประสาท แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervoussystem หรือ CNS) ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมระบบประสาท ประกอบด้วย
1.1 สมอง 1.2 ไขสันหลัง
1.1 สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
• สมองส่วนหน้า (forebrain หรือ prosencepphalon) )
• สมองส่วนกลาง (midbrain หรือ mesencephalon) ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองและเป็นจุดศูนย์กลาง เกี่ยวกับการมองเห็น และ การได้ยิน
• สมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon)

1.2 ไขสันหลัง (spinal cord)
เป็นส่วนที่สองของระบบประสาทส่วนกลาง อยู่ต่อจากก้านสมองลงมา มีความยาวตั้งแต่ต้นคอจนเกือบตลอดหลัง เฉลี่ยประมาณ 18 นิ้ว ไขสันหลังจะบรรจุอยู่ในโพรงของกระดูกสันหลังซึ่งมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ รวมทั้งสิ้น 31 ปล้อง แต่ละปล้องจะเป็นอิสระต่อกัน ถ้าตัดกระดูกสันหลังตามขวางจะพบไขสันหลังมีลักษณะเป็นรูปวงรี ตรงกลางของไขสันหลังมีตัวเซลล์ประสาทมากมาย รูปร่างคล้ายตัว H ในภาษาอังกฤษ
2. ระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบประสาทรอบนอก ( peripheral nervous system หรือ PNS) ได้แก่ เซลล์ประสาทรับความรู้สึกและเซลล์ประสาทสั่งการ ที่ประกอบขึ้นเป็นเส้นใยประสาทต่างๆออกจากสมองและไขสันหลังไปสู่ส่วนต่างๆรอบนอกร่างกาย
ประกอบด้วย
2.1 เส้นประสาทสมอง (cranial nerve)
2.2 เส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve)
3. ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System)
เป็นระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทจำนวนมาก แต่เซลล์ประสาทเหล่านี้จะทำงานเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ (involuntary) หรือการควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้นการทำงานของเซลล์ประสาทอัตโนมัติจึงทำงานได้โดยไม่ต้องอาศัยคำสั่งจากสมอ.
ก. ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic nervous System) ศูนย์กลางอยู่บริเวณไขสันหลัง (Spinal cord) ระบบนี้จะทำงานในกรณีที่บุคคลตกอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาตื่นตัวเพื่อเตรียมพร้อมที่จะสู้หรือหนีจากสถานการณ์เหล่านั้น ปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อระบบประสาทซิมพาเธติกทำงาน ได้แก่ ขนลุกตั้งชัน ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นเร็วและรัว ต่อมอะดรีนัล (adrenal gland) หรือต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน (adrenalin) เพื่อเพิ่มพลังงานพิเศษให้กับร่างกาย เป็นต้น


ระบบประสาทซิมพาเธติก (sympathetic nervous system)

•ม่านตาขยาย ต่อมน้ำตาทำงาน
•น้ำลายและเหงื่อถูกผลิตออกมามาก
•หัวใจเต้นเร็ว
•ปอดหด / ขยายเพิ่มขึ้น
•ตับและกระเพาะทำงานน้อยลง
•ฮอร์โมนอะดรีนาลีนถูกหลั่งออกมา
•ลำไส้ทำงานน้อยลง
•กระเพาะปัสสาวะขยายตัว
•ถุงอัณฑะขยายตัวทันที
ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก (parasympathetic nervous system) มีศูนย์กลางอยู่ที่ก้านสมอง (medulla) และไฮโปทาลามัส (hypothalamus) โดยระบบนี้จะทำงานควบคู่กับระบบซิมพาเธติก กล่าวคือ เมื่อระบบซิมพาเธติกทำงานสิ้นสุดลง ร่างกายพ้นจากสภาวะฉุกเฉินไปแล้ว ระบบพาราซิมพาเธติกจะช่วยทำให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาวะปกติ เช่น เส้นขนจะราบลง ชีพจรหัวใจและความดันโลหิตจะกลับคืนสภาพเดิม เป็นต้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้ต่อมอะดรีนัลหลั่งฮอร์โมนนอร์อะดีนาลีน (noradrenalin) เพื่อช่วยให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติอีกครั้ง
ระบบพาราซิมพาเธติก

•ม่านตาหรี่ลง
•ต่อมน้ำตาหยุดการทำงาน
•น้ำลายไหลปกติ
•หัวใจเต้นปกติ ปอดหด / ขยายปกติ
•ตับและกระเพาะอาหารทำงานมากขึ้น
•ลำไส้ทำงานมากขึ้น
•กระเพาะปัสสาวะหดตัว
•อวัยวะเพศแข็งตัว

ประเด็นคำถาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น